Marie - The Aristocats 3

ประเทศโปแลนด์

ประเทศโปแลนด์


โปแลนด์ (อังกฤษPolandโปแลนด์Polska) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปแลนด์ (อังกฤษRepublic of Polandโปแลนด์:Rzeczpospolita Polska) เป็นประเทศในตอนกลางของยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกจรดเยอรมนี ทางใต้จรดสาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย ทางตะวันออกจรดยูเครนและเบลารุส ส่วนทางเหนือจรดทะเลบอลติก ลิทัวเนีย และแคว้นคาลีนินกราดของรัสเซีย โปแลนด์เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย
รัฐโปแลนด์ก่อตั้งเมื่อมากกว่า 1,000 ปีก่อนภายใต้ราชวงศ์เปียสต์ (Piast dynasty) และถึงยุคทอง ตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้ราชวงศ์ยาเกียลลอน (Jagiellonian dynasty) เป็นยุคที่โปแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมีอำนาจมากที่สุดในยุโรป ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 สภาล่าง (Sejm เซย์ม) ของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ได้เลือกรับรัฐธรรมนูญพฤษภาคมของโปแลนด์ (May Constitution of Poland)รัฐธรรมนูญร่างฉบับแรกของยุโรป และฉบับที่ 2 ของโลก ตามหลังรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นไม่นาน โปแลนด์ได้ถูกแบ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ออสเตรีย และ ราชอาณาจักรปรัสเซีย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1โปแลนด์มีสถานะเป็นราชอาณาจักร และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2461 หลังสิ้นสุดสงครามโลก ภายใต้ยุคสาธารณรัฐที่ 2 (Second Polish Republic) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์กลายเป็นรัฐบริวารที่เป็นคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตภายใต้สาธารณรัฐประชาชน (People's Republic of Poland) ในพ.ศ. 2532 การเลือกตั้งกึ่งเสรีครั้งแรกในโปแลนด์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดการดิ้นรนเพื่อเสรีภาพของขบวนการโซลิดาริตี(Solidarity movement) และเป็นการพ่ายแพ้ของผู้นำคอมมิวนิสต์ของโปแลนด์ (โดยก่อนหน้านี่ผู้นำคอมมิวนิสต์ของโปแลนด์ใด้ประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อปราบการดิ้นรนเพื่อเสรีภาพของขบวนการโซลิดาริตีในปีพ.ศ. 2524 ) มีการก่อตั้งสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3 (Third Polish Republic) ในปัจจุบัน ตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2540 ในปี พ.ศ. 2542 โปแลนด์ได้เข้าร่วมองค์การนาโต และในปี พ.ศ. 2547 ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป
แหล่งท่องเที่ยวโปแลนด์
กรุงวอร์ซอร์ 
ย่านเมืองเก่าของกรุงวอร์ซอว์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ ซึ่งเมืองนี้องค์กรยูเนสโก (United Nations Education Scientific and Culture Organization) มีการประกาศให้เป็นมรดกโลก ซึ่งมีแหล่งสถาปัตยกรรมต่างๆ มากมายในกรุงวอร์ซอร์ที่ได้สร้างขึ้นในราวปลาย ศตวรรษที่13และเนื่องจาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สถาปัตยกรรมต่างๆ เกิดความเสียหาย อย่างมาก แต่หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ถูกบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในปัจจุบัน




พระราชวังลาเซียนกี้ 
เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในกรุงวอร์ซอว์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเป็นพระราชวังทางประวัติศาสตร์ ที่มีสวนอันงดงามล้อมรอบ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองวอร์ซอว์ ในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่เดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป และนอกจากนี้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติเมื่อมาถึงโปแลนด์ (พระราชวังแห่งนี้ได้เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย เมื่อครั้งเสด็จประพาสวอร์ซอว์ 

จัตุรัสเมืองเก่า 
ได้มีการสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นที่ตั้งบ้านเรือน โบสถ์ และพระราชวังหลวง (Royal Castle) ที่ภายในมีการตกแต่งอย่างงดงามด้วยศิลปวัตถุ และเครื่องประดับเก่าแก่อันเป็นสมบัติล้ำค่าของเมืองวอร์ซอร์ ภายในมีภาพเขียนที่สำคัญคือ ภาพกรุงวอร์ซอ 22 มุมมอง โดยจิตรกรเอกชาวอิตาเลียน เบอร์นาโด คานาเล็ตโต มีความคิดที่จะใช้เป็นต้นแบบในการบูรณะกรุงวอร์ซอจนกลับมาเป็นเมืองหลวงที่สวยงาม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมาก จุดหนึ่งของประเทศโปแลนด์ ด้วยสีสันของตึกในแบบยุโรปตะวันออกแท้ๆซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านรวงเล็กๆ ซึ่งเป็นร้านขายของที่ระลึก และยังมีรถม้าคอยอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว และยังมีจิตรกรให้ผู้ที่มีความสามารถในการวาดภาพเหมือนอีกด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจ แวะเข้ามาใช้บริการ

เมืองเชสโตโชว่า 
เป็นเมืองศูนย์กลางของผู้แสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป คริสต์ศาสนิกชนกว่า 4-5 ล้านคน เข้าบูชาเพื่อขอพรจากแบล็คมาดอนน่า(Black Madonna) ณ อารามจัสนา กอร่า(Jasna Góra Monastery) รูปพระแม่มาเรียสีดำ ศูนย์รวมจิตใจของชาวคาทอลิก กล่าวกันว่าสีที่ใช้วาดมานานกว่า 600 ปีทำให้รูปพระแม่เป็นสีดำ ที่รอยบากที่พระพักตร์ ซึ่งพวกต่อต้านศาสนาต้องการทำลาย อารามแห่งนี้รอดพ้นจากการถูกทำลายในสงครามต่างๆอย่างน่าอัศจรรย์ จนกลายเป็นปาฎิหารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 

พิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันค่ายออสวิทซ์ 
ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายกักกันชาวยิวที่มีชื่อเสียงก้องโลก ค่ายกักกันชาวยิวที่ฮิตเลอร์ และเหล่านาซี ทำทารุณกรรมกับชาวยิว และชาวโปล อย่างโหดเหี้ยมด้วยมาตรการสารพัด เพื่อกำจัดชาวยิวให้หมดยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการจะหาค่ายกักกันเชลยศึกต่างๆ จนมาพบสถานที่ที่รัฐบาลโปแลนด์ต้องการก่อสร้างเป็นสถานที่คุม ขังนักโทษการเมืองจึงได้ดัดแปลงตามความต้องการของนาซี และเริ่มต้นใช้ในช่วงมิถุนายน 1940 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันดูแลโดยรัฐบาลของโปแลนด์ ซึ่งเริ่มจากเยอรมันเข้ายึดโปแลนด์ได้ในปลายปี พ.ศ.2482 

เหมืองเกลือวิลิซกา 
เป็นเหมืองเกลือที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของโปแลนด์ ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของโปแลนด์ ณ เมืองวิลิซกา และเป็นเหมืองใต้ดินที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนทำให้รัฐบาลโปแลนด์ ประกาศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ.2537ภายในเหมืองจะมีลิฟท์ซึ่งจะลงลึกถึงชั้นใต้ดินของเหมือง โดยชั้นที่ลึกที่สุดจะลึกถึง 327 เมตร ที่มาของเหมืองนี้เกิดจาก ในสมัยก่อนเกลือนั้นเกิดตามธรรมชาติมาประมาณ 20 ล้านปี เกลือมีค่าดุจทองคำ เพราะใช้ในการถนอมรักษาอาหารมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ในเหมืองเก่าแก่ชั้นใต้ดินจะประกอบไปด้วย แกลอรี่และห้องต่างๆ ซึ่งสร้างและแกะสลักจากเกลือทั้งหมด ความงามของทะเลเกลือใต้พิภพ ซึ่งจะทำให้เหมืองแห่งนี้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว และนอกจากนี้เหมืองเกลือในเมืองเวียลิซก้าถือว่าจัดเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติขององค์การยูเนสโก้อีกด้วย

อาหารประจำประเทศโปแลนด์
อาหารประจำชาติของประเทศโปแลนด์หรือบีกอสนั้น เชื่อกันว่าสมัยก่อนเป็นเมนูอาหารที่นายพรานนิยมติดตัวไปกินระหว่างเดินทางในป่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเพราะมีวิตามินสูง ช่วยป้องกันอาหารเป็นหวัดได้ดี ทำให้บางคนอาจจะคุ้นเคยว่าเป็นเมนูสตูว์ของพรานล่าเนื้อ จึงเป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารพื้นบ้านดั้งเดิมของโปแลนด์ บีกอสนั้นมีส่วนผสมหลักคือกะหล่ำปลีดอง จากนั้นก็จะนำไปเคี่ยวผสมกับเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบคอนรมควัน, ไส้กรอก หรือเนื้อชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการ ตามด้วยส่วนผสรสเลิศจากเห็ดแห้ง, หัวหอม, มะเขือเทศ, ลูกพลัมแห้ง, พริกไทย, น้ำผึ้ง,ไวน์แดง และผักผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งหน้าตาจะคล้าย ๆ กับจับฉ่าย แต่เวลากินคู่กับเครื่องเคียงนั้นคนโปแลนด์นิยมทานบีกอสกับมันฝรั่งบดหรือ                                                                    ไม่ก็ขนมปังมากกว่า 


อีกหนึ่งเมนูอาหารพื้นเมืองโปแลนด์ที่แนะนำว่าต้องจดไว้และตามมากินก็คือ เปียโรกิ ที่หน้าดูเหมือนเกี้ยวซ่าหรือไม่ก็เกี๊ยวทอดบ้านเราเลย แต่ไส้ด้านในของเขาจะมีให้เลือกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเปียโรกิไส้กะหล่ำปลี, ไส้เห็ด, ไส้แยม, ไส้เนื้อสัตว์และผลไม้ ชาวโปแลนด์ส่วนใหญ่จะกินเปล่า ๆ หรือไม่ก็เหยาะเกลือหรือนำพริกไทยมาโรยเพิ่มรสชาติ แต่สำหรับผมชอบที่จะทานเปียโรกิเคียงกับพริกดองและซีอิ้วมากกว่า ได้อารมณ์และรสชาติไม่ต่างจากกินอาหารไทยเลย
เมนูผักที่กลายมาเป็นอาหารท้องถิ่นของโปแลนด์อีกหนึ่งรายการอย่างโกวอมกินั้น ทำมาจากผักกะหล่ำปลีที่ห่อหุ้มเนื้อหมูตุ๋นไว้ด้านใน ผ่านการปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศและเครื่องเทศต่าง ๆ ครบเครื่องทั้งเกลือและพริกไทย รสชาติของโกวอมกิน่าจะถูกปากชาวไทยไม่น้อยเพราะมีทั้งรสหวาน, เปรี้ยวและเค็ม แต่ชาวโปแลนด์จะกินคู่กับมันฝรั่งบดหรือไม่ก็ขนมปัง คล้าย ๆ กับคนไทยที่ไปไหนก็ขอกินคู่อาหารกับข้าวเช่นกัน


อาหารสุดโปรดของผู้รักในรสชาติของต้มเครื่องในวัวแบบไทย ๆ ต้องไม่พลาดที่จะจัดอาหารพื้นเมืองโปแลนด์ที่ชื่อ “ฟรักกิ” มาชิมให้ได้ นอกจากหน้าตาของฟรักกิจะดูไม่แตกต่างจากต้มเครื่องในวัวบ้านเราสักเท่าไหร่แล้ว ขาดก็แค่ผักกาด, เครื่องในวัวอย่างม้าม, ปอดและไส้นี้ ชาวโปแลนด์ไม่นิยมใส่ลงไปในอาหาร จะมีก็แค่ผ้าขี้ริ้วอย่างเดียวเท่านั้น หลังจากเคี่ยวคู่กับส่วนผสมอย่างเครื่องเทศแบบฉบับโปแลนด์แล้ว ชาวโปแลนด์ที่นี่จะนิยมทานคู่กับขนมปังหรือไม่ก็กินเปล่า ๆ เลย ผมได้ลองแล้วรสชาติเหมือนต้มเครื่องในบ้านเราแต่ไม่มีรสเผ็ด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น