ประเทศฟินแลนด์
ประเทศฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomi ; สวีเดน: Finland) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen tasavalta; สวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ภูมิประเทศ
ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีทะเลสาบและเกาะเป็นจำนวนมาก โดยมีทะเลสาบถึง 187,888 แห่ง (ที่มีเนื้อที่มากกว่า 500 ตารางเมตร) และมีเกาะถึง 179,584 เกาะ โดยทะเลสาบไซมา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของยุโรป ภูมิประเทศทั่วไปของฟินแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขามากนัก จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาฮัลติ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตแลปแลนด์ โดยมีความสูง 1,328 เมตร นอกจากทะเลสาบแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ปกคลุมด้วยป่าสน และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก ฟินแลนด์มีเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บริเวณหมู่เกาะโอลันด์ และตลอดแนวชายฝั่งทางใต้ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการยกตัวของแผ่นดินที่มีผลมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย
ภูมิอากาศ
ทะเลสาบไซมา |
เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว
ประวัติศาสตร์
ภายใต้การปกครองของสวีเดน
เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของความเกี่ยวพันระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1698 ในสงครามเผยแผ่คริสต์ศาสนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่โอบู (Åbo) หรือตุรกุ(Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่น ๆ ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่น ๆ ของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย
พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors) แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้งในพุทธศตวรรษที่ 23
หลังการประกาศเอกราช
หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และรัฐบาลบอลเชวิกรัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่งเยอรมนีและชาติสแกนดิเนเวียอื่น ๆ ก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียบอลเชวิก ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ
หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง รัฐสภาของฟินแลนด์ ซึ่งไม่มีสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐอยู่เลย ได้ประกาศตั้งราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น โดยเลือกเจ้าชายเฟเดอริก ชาลส์ แห่งแฮสส์ของเยอรมนี ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฟินแลนด์ แต่เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความคิดนี้จึงต้องยกเลิกไป และฟินแลนด์ก็ประกาศเป็นสาธารณรัฐ โดยมีคาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คาร์ล ลุดวิก เองเกล ชาวเยอรมัน ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในโครงการสร้างเมืองใหม่นี้
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญนี้คือมหาวิหาร (ในอดีตเรียกโบสถ์นิโคลัส) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส
มหาวิหารของเฮลซิงกิ
ทางทิศตะวันออกเป็นทำเนียบรัฐบาล มีเสาหินแบบคอรินเธียน เป็นผลงานของเองเกล
ทำเนียบรัฐบาล (Valtioneuvosto)
อิทธิพลของรัสเซียอีกอย่างหนึ่งคือโบสถ์ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแห่งที่สำคัญของเฮลซิงกิคือมหาวิหารอุสเปนสกี ก่อสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2405-2411
มหาวิหารอุสเปนสกี
เฮลซิงกิยังมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (Jugenstil) โดยมีสถาปนิกคนสำคัญคือเอเลียล ซาริเนน ในช่วงแรกซาริเนนร่วมงานกับสถาปนิกอีกสองคนในบริษัท Gesellius, Lindgren & Saarinen ผลงานที่สำคัญในเฮลซิงกิคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ออกแบบในปีพ.ศ. 2445
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
อาคารรัฐสภา (Eduskuntatalo) เป็นผลงานนีโอคลาสสิกชิ้นสำคัญของฟินแลนด์ยุคหลังประกาศเอกราช ออกแบบโดยโยฮัน ซิกฟริด ซิเรน ในปีพ.ศ. 2467 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2474 ภายหน้าอาคารเป็นเสาหินแบบคอรินเธียน 14 ต้น
อาคารรัฐสภา
สถาปัตยกรรมแบบประโยชน์นิยม (อังกฤษ: functionalism) ได้รับความนิยมในฟินแลนด์ยุคใหม่ อัลวาร์ อาลโต เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ โดยมีสิ่งก่อสร้างในเฮลซิงกิคือหอฟินแลนเดีย
หอฟินแลนเดีย
สถานทีท่องเที่ยวในประเทศ
น้ำพุแห่งนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของเมืองเฮลซิงกิ ที่ออกแบบโดย นายวิลเลย์ วาเกน สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1908 โดยปั้นรูปสาวงามให้เป็นตัวแทนของเมืองเฮลซิงกิ และคำว่าบอลติกนั้น ก็คือคาบสมุทรที่ตั้งของเมืองเฮลซิงกินั่นเอง นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ น้ำพุธิดาแห่งทะเลบอลติก ผู้คนที่นี่โดยเฉพาะนักศึกษามีความเชื่อว่า หากใครสามารถโยนหมวกขึ้นไปสวมที่ศีรษะของรูปปั้นได้ ก็จะประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาและหน้าที่การงาน
อยู่ไม่ไกลจาก น้ำพุธิดาแห่งบอลติก เป็นจัตุรัสกลางเมืองที่ใช้จัดกิจกรรมใหญ่ๆ และเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของเมือง ใจกลางจัตุรัสมีอนุสาวรีย์พระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์ ที่2 ประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ โดยรอบสแควร์ยังมีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่งดงามให้ได้ชื่นชมกันอีกอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ
คือตลาดสดกลางแจ้งที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาเยี่ยมชม และจับจ่ายซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือ ตลาดแห่งนี้ขายตั้งแต่ของสดอย่าง ผัก ผลไม้ ปลา รวมไปถึงงานฝีมือที่ทำเป็นของที่ระลึกมาวางขายกันมากมาย
ตั้งอยู่ใน Sibelius Park สร้างขึ้นเพื่อสดุดีให้แก่นักประพันธ์เพลงชื่อดังชาวฟินแลนด์นามว่า Jean Sibelius ซึ่งแต่งเพลงปลุกใจอย่างฟินแลนเดีย เพื่อปลุกให้ชาวฟินแลนด์ลุกขึ้นมาเรียกร้องเอกราชจากรัสเซีย เมื่อครั้งประวัติศาสตร์ที่ประเทศฟินแลนด์เคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของรัฐเซีย
อนุสาวรีย์แห่งนี้มีรูปทรงที่สวยแปลกตา ออกแบบโดย Eila Hiltunen โดยใช้แท่งเหล็กจำนวน 600 แท่ง มาเชื่อมเข้าด้วยกันให้มีรูปร่างเหมือนออแกนลมที่มีความสูง 85 เมตร กว้าง 10.5 เมตร ลึก 6.5 เมตร น้ำหนัก 24 ตัน เป็นจุดเด่นกลางแจ้งที่ดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวให้เข้าไปถ่ายภาพกัน
อาหารประจำประเทศ
ไปฟินแลนด์ จะต้องลองไปชิมอาหารพื้นเมืองขนานแท้ของประเทศเขากันให้ได้ ได้แก่ เนื้อกวางเรนเดียร์ปรุงอาหารในแบบต่างๆ หรือจะเป็น พายคาเรเลีย(Karjalanpiirakka) ก็แสนจะอร่อยค่ะ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขตคาเรเลียทางตะวันออกของฟินแลนด์ ทั้งหมดนี้ ท่านจะหาทานได้จากร้านอาหารตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ หรือภัตตาคารของโรงแรม ใน ฟินแลนด์ ที่ท่านเข้าพักได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น